ASIAFIRMS.COM

Wat Bueng Phra Lan Chai

Address 116 ประชาธรรมรักษ์ Prachadhamruk Rd, Nai Mueang, Mueang Roi Et District, Roi Et, Thailand
Phone +66 43 519 903
Categories Buddhist Temple
Rating 4.6 8 reviews
Similar companies nearby
Wat Sa Thong — 51/1 Haisoke Rd, Nai Mueang, Mueang Roi Et District, Roi Et
Wat Klang Ming Mueang — 24 Khahabaudee Uthit Rd, Nai Mueang, Mueang Roi Et District, Roi Et
Wat Burapha Phiram — 559/1 Padungpanict Rd, Nai Mueang, Mueang Roi Et District, Roi Et
Wat Nuea — 372 Noengpadit Alley, Nuea Mueang, Mueang Roi Et District, Roi Et

Wat Bueng Phra Lan Chai reviews

8
Sort by: date highest rated lowest rated most helpful
Johm
25 June 2021 10:15

วัดบึงพระลานชัย 、。。
Wat Bueng Phra Lan Chai 、。。

วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวงชั้นตรี. เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ตั้งติดอยู่กับบึงพลาญชัยร้อยเอ็ด เขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ภายในวัดมีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมเพื่อเป็นสิริมงคล อาทิ ใช้ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา มีสระชัยมงคลเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เคยนำน้ำจากสระชัยมงคลไปร่วมงานพระราชพิธีเป็นประจำ เป็นบ่อน้ำโบราณ น้ำใสสะอาด มีพญานาค ตระกูลเฝ้ารักษาบ่อน้ำศักสิทธิ์ดังกล่าว หรือเรียกว่า "บ่อน้ำพญานาค” เชื่อเป็นทางขึ้น - ลง พญานาค เฝ้ารักษาพระพุทธศาสนา และเป็นที่ตั้งหอไตรมิ่งเมืองที่มีรูปทรงสมัยโบราณที่สวยงามภายในเป็นที่ตั้งประดิษฐานพระอุปคุตเทพเจ้าดูแลโลกบาดาล มีใบเสมาเก่าแก่สมัยทรารวดี มีศิลาแลงสมัยเมืองฟ้าแดดสูงยาง เป็นศูนย์กลางการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดใกล้เคียง เป็นต้นกำเนิดการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น.

素晴らしいお寺である 、。。

Bill
17 February 2021 17:06

As a “farang” I enjoy the old temples- not the newly built massive “bots”. This old temple grounds has removed most of the original buildings and sadly the trees. But there is an old structure (for manuscripts?) that still exists surrounded by water. -Worth a visit if you’re walking around the city park.

Miss
18 February 2020 7:44

พระอารามหลวง สวยงามอยู่หน้าบึงพลาญชัย มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ท่านพระเทพเจ้าอาวาสมีเมตตาสูง มีพระและเณรประมาณเกือบ 200 รูป มาทำบุญบริจาคทานที่วัดนี้ได้บุญใหญ่ เจ้าค่ะ

ประธานวุฒิ
04 October 2019 3:16

วัดบึงพลาญชัย จ. ร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวง เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรม เป็นโรงเรียนปริญัติธรรม เป็นอีกสถานที่หนึ่งเหมาะสำหรับปฎิบัติธรรม ที่หอกลางน้ำมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์สมัยโบราณกาล โดยมี พระธรรมฐิติญาณเจ้าคณะภาค10 เป็นเจ้าอาวาส เป็นนักเทศน์ชั้นเอก เรียนเชิญทุกท่าน ไปทำบุญกันครับ ภายในวัดเข้าจอดรถยนต์ได้ครับ สาธุ

บอย
15 June 2019 8:40

ส่วนตัวแล้วศรัทธา​ในตัวหลวงพ่อท่านเป็นวัดในประวัติศาสตร์​ของจังหวัดร้อยเอ็ดอีก1แห่งที่มีประวัติ​ยาวนานและเชื่อมโยงกับพี่น้องชาวร้อยเอ็ดและมีบ่อน้ำศักดิ์​สิทธิ์​

Pichai
20 May 2019 12:23

มีศาลหลักเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ใครผ่านควรแวะไหว้สักการะเดินทางโชคดีปลอดภัย

Ghost
13 March 2018 0:23

จังหวัดร้อยเอ็ด หรือนามเดิมสาเกตนคร เป็นเมืองที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณมีวัดวาอารามน้อยใหญ่อยู่มากมาย วัดบึงพลาญชัยเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ถนนประชาธรรมรักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่เศษ เป็นศูนย์อบรมศึกษาของพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง ๑๙ จังหวัด มีพระภิกษุและสามเณรจำพรรษาประมาณ ๑๓๐ รูป ความเก่าแก่ของวัดเนิ่นนานมากว่า ๑, ๐๐๐ ปี มีหลักฐานปรากฏ คือ มีเสมาหินทรายสมัยทวารวดีที่รายรอบพระอุโบสถ

เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาวัดบึงพลาญชัยก็กลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งในปี พุทธศักราช ๒๓๑๘ พระยาขัตติยะวงศาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด ได้นำไพร่พลมาหักร้างถางโพง สถาปนาวัดขึ้นใหม่เรียกว่า วัดบึงพลาญชัย หรือ วัดบึง มีสัญลักษณ์ที่สะดุุดตาคือบึงน้ำใหญ่หน้าวัด และได้กลายเป็นนามของวัด  ด้วยสถานที่แห่งนี้ใช้เป็นที่ฉลองชัยชนะและประกอบพระราชพิธีถึงน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ  ได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง
    
กาลเวลาผ่านไปกว่า ๑๐๐ ปี จนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ วัดมีความทรุดโทรมลงถึงที่สุด มหาเสวกโทพระยารณชัยชาญยุทธ สมุหเทศาพิบาลผู้ว่าราชการมณฑลร้อยเอ็ด จึงได้อาราธนาพระครูวินัยธร จากวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครมาเป็นเจ้าอาวาสได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่  ซึ่งเป็นพระอุโบสถก่อนพระอุโบสถหลังปัจจุบัน วัดบึงพลาญชัยจึงได้แปรสถานะเป็นวัดธรรมยุทธนับแต่นั้นเป็นต้นมา จากถนนใหญ่ผ่านถนนเข้าสู่ซุ้มประตูวัด มีทางเดินหรือฉนวนตรงเข้าสู่ลานพระอุโบสถ สองฝั่งกำแพงฉนวนแต่งลายด้วยนาคเจ็ดเศียรกระหวัดหางเกี่ยวกัน

ด้านขวาของพระอุโบสถเป็นหอผ้าไตรนิ่งเมืองเป็นอาคารขนาดย่อมสูง ๔ ชั้น ตั้งอยู่กลางสระน้ำ สร้างครอบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะมีน้ำผุดขึ้นเต็มบ่อตลอดเวลาเป็นที่น่าอัศจรรย์ ชั้นสองเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ชั้นสามประดิษฐานพระชัยมงคล ๙ องค์ ซึ่งสร้างด้วยวัสดุแตกต่างกัน คือ ทอง นาค สัมฤทธิ์ เงิน งาช้าง หน่อแรด หยกแก้วและแก่นจันทน์ ชั้นสี่เป็นชั้นบนสุดประดิษฐานพระไตรปิฎก พระแก้ว และพระบรมสารีริกธาตุ ถัดมาเป็นหอระฆังซึ่งอยู่ด้านหน้าของหมู่กุฏิอันเป็นเขตสังฆาวาส  มีถนนซอยทะลุไปยังบ้านเรือนร้านค้า ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เกิดพายุใหย่พัดกระหน่ำอย่างรุนแรง

พระอุโบสถซึ่งสร้างไว้กว่า ๖๐ ปีได้ถูกพายุพัดพังทะลายลงเป็นเศษอิฐซากปูน ไม่อาจทำการบูรณะได้ทางวัดจึงได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่ ใช้เวลานานร่วม ๒๐ ปี โดยสร้างในพื้นที่เดิมแต่มีขนาดใหญ่แข็งแรงมั่นคง มีความกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๓๒ เมตร แล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ พระอุโบสถเป็นอาคารทรงไทย หลังคาซ้อน ๓ ชั้น ลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง เหนือหลังคาชั้นที่ ๒ และชั้นบนสุด ตกแต่งเป็นหน้าบรรณขนาดเล็ก ๙ หลัง แต่ละหน้าบรรณมีตราธรรมจักรและมงกุฎ  ด้านบนสุดของหลังคาเป็นยอดเจดีย์

ภายในพระอุโบสถผนังฉาบปูนเรียบ เพดานทาสีแดงประดับไฟช่อ บานประตูแกะสลักเป็นลายพระพุทธรูป บานหน้าต่างด้านขวาพระประทานแกะเรื่องพุทธประวัติ บานด้านซ้ายพระประธานแกะเรื่องพระเวสสันดร อันเป็นมหาชาติชาดกซึ่งเป็นที่นิยม

เบื้องหน้าพระประธานเรียงรายด้วยเสาขนาดใหญ่โดดเด่นสะดุดตา  ทั้งงดงามด้วยการประดับตกแต่งด้วยลายธรรมจักรและดวงแก้ว บนพื้นสีที่แตกต่างกัน พระประธานในพระอุโบสถมี ๓ องค์ เคียงข้างทุกองค์ด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระสารีบุตร องค์บนสุดปางมารวิชัย ถัดลงมาปางสมาธิ (Meditation) องค์หน้าสุดเป็นพระพุทธชินราชจำลอง  ทุกเช้าเย็นผู้คนในละแวกใกล้วัดจะได้พบเห็นได้ยินพระภิกษุทั้งวัดสวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญภาวนาโดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้นำ

สยามพุทธศิลป์
21 February 2017 18:41

วัดบึงพระลานชัย ตั้งเมื่อ พ. ศ. ๒๓๑๘ โดยพระยาขัติยวงษา (เภา ธนสีลังกูร) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน มาถากถางป่าดงพงหญ้า บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น และให้ชื่อว่า “วัดบึงพระลานชัย” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดบึง” ต่อมา พ. ศ. ๒๔๓๐ หลวงสงกรานต์วิศิษฐ์ ได้นำข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนบูรณะฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อเดิมซึ่งถือว่าบริเวณนี้เป็นวัดโบราณและถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้าน ตั้งอยู่ใกล้กับบึงพลาญชัยที่มีสระเรียกว่า สระชัยมงคล ซึ่งเป็นสระโบราณคู่บ้านคู่เมือง และเป็นพื้นที่ประกอบฉลองชัยจากการรบทัพจับศึกของเจ้าเมืองโบราณ

Add review