ASIAFIRMS.COM

Hor Phra Monthian Dharma

Address 2 Na Phra Lan Rd, Phra Borom Maha Ratchawang, Phra Nakhon, Bangkok, Thailand
Phone +66 2 623 5500
Hours 08:30-15:30
Website www.royalgrandpalace.th/en/discover/architecture
Categories Buddhist Temple
Rating 5 2 reviews
หอพระมณเฑียรธรรม
Nearest branches
The Temple of the Emerald Buddha — Na Phra Lan Rd, Phra Borom Maha Ratchawang, Phra Nakhon, Bangkok
Phra Ubosot (The Chapel) — Phra Borom Maha Ratchawang, Phra Nakhon, Bangkok
Similar companies nearby
Wat Soonthorn Thammathan — Phaniang Rd, Wat Sommanat, Pom Prap Sattru Phai, Bangkok
Wat Bang Yi Khan — 376 ถนน จรัญสนิทวงศ์, Bang Yi Khan, Bang Phlat, Bangkok
Wat Dusidaram Worawihan — 7 เชิงสะพาน, Phra Pin Klao Bridge - Thonburi Railway, Bang Yi Khan, Bangkok Noi, Bangkok

Hor Phra Monthian Dharma reviews

2
Sort by: date highest rated lowest rated most helpful
noppadol
23 March 2021 21:41

หอพระ มณเฑียรธรรม หรือหอพระไตรปิฎกของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด มีลักษณะเป็นอาคารเครื่องก่อ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างโบสถ์วิหารทั่วไป หอพระมณเฑียรธรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นหอพระไตรปิฎกที่สร้างขึ้นแทนหอเดิมกลางสระน้ำ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ใน พ. ศ. ๒๓๒๕ นั้นพระองค์มีพระราชดำริ ที่จะเจริญรอยตามพระราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณในการสร้าง พระราชมณเฑียรใหม่ ใน พ. ศ. ๒๓๒๖ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งประกอบด้วย พระอุโบสถ พระเจดีย์ พระวิหาร ศาลาราย พร้อมทั้งขุดสระ และสร้างหอพระไตรปิฎกลงในสระ แล้วพระราชทานนามว่า หอพระมณเฑียรธรรมซึ่งแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง เป็นที่สถิตแห่งธรรม โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกของหลวงและใช้เป็นสถานที่ทำงาน ของบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิต ที่เป็นอาจารย์ทำหน้าที่ตรวจสอบ และบอกพระไตรปิฎก แก่พระสงฆ์สามเณรด้วย เนื่องจากในระหว่างสงครามนั้น หนังสือคัมภีร์ต่างๆได้กระจัดกระจายพลัดหายไป มีไม่ครบจบเรื่องเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชประสงค์ที่จะรวบรวมและ สร้างขึ้นใหม่ให้ครบ จึงใช้หอพระมณเฑียรธรรมเป็นสถานที่รวบรวมหนังสือของหลวง และโปรดเกล้าฯให้กระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ที่วัดนิพพานาราม (ปัจจุบันคือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ราชวรมหาวิหาร) และให้ช่างจารพระไตรปิฎกที่ สังคายนาแล้ว ลงใบลานด้วยอักษรขอม ตกแต่งคัมภีร์ ลงรักปิดทองทึบตลอด เป็นฉบับหลวง เรียกว่า ฉบับ ทองทึบ ในรัชกาลต่อมา มีการสร้างคัมภีร์ปิดทองขึ้นอีกจึงเรียกฉบับทองทึบที่สร้างในรัชกาลที่ ๑ ว่า ฉบับ ทองใหญ่

เมื่อการสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับหลวงตามที่สังคายนาสำเร็จใน พ. ศ. ๒๓๓๑ แล้ว ได้อัญเชิญเข้าประดิษฐานในตู้ประดับมุก ตั้งในหอพระมณเฑียรธรรมกลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการมหรสพสมโภชพระไตรปิฎก และหอพระมณเฑียรธรรมในคืนวันสมโภชนั้น เวลาจุดดอกไม้เพลิง ลูกพลุปลิวไปตกลงบนหลังคาหอพระมณเฑียรธรรม เกิดเพลิงไหม้ขึ้นแม้ว่าจะสามารถยกตู้ประดับมุก และขนคัมภีร์พระไตรปิฎกออกมาได้ทั้งหมด แต่เพลิงก็ไหม้หอพระมณเฑียรธรรมหมดทั้งหลัง
หอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกของหลวงฉบับต่างๆ
และใช้เป็นสถานที่ทำงานของนักปราชญ์ราชบัณฑิตในสมัยก่อน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง โปรดเกล้าฯ ให้ถมสระ เดิมนั้น แล้วสร้างพระมณฑปขึ้นแทน สำหรับใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแทนหอพระมณเฑียรธรรมเดิม ที่ถูกเพลิงไหม้ แต่พระมณฑปเล็กและแคบ ไม่พอที่จะเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกของหลวงไว้ได้ทั้งหมด ครั้งนั้นสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จึงทรงรับอาสาให้ช่างวังหน้า มาสมทบสร้างหอพระมณเฑียรถวายใหม่อีกหลังหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระมณฑป

ใน พ. ศ. ๒๓๓๒ การสร้างพระมณฑป และหอพระมณเฑียรธรรมได้สำเร็จบริบูรณ์ จึงได้เชิญตู้ประดับมุก ซึ่งประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ มาตั้งไว้ในพระมณฑป ส่วนคัมภีร์ฉบับอื่น ซึ่งเป็นของเดิมเรียกกันว่า ฉบับครูเดิม และที่สร้างขึ้นใหม่นอกจากที่อยู่ในพระมณฑป ให้ใส่ตู้ทองลายรดน้ำ เก็บไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม ฉะนั้นจึงมีหนังสือเป็นจำนวนมาก และสมบูรณ์เกือบทุกฉบับ ทำให้หอพระมณเฑียรธรรม มีลักษณะเป็นหอสมุดพระพุทธศาสนาของหลวงหลังแรก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์.

Chorpaka
18 April 2020 1:07

Hor-prah-mon-tian-tum was constructed in the raign of king rama the first by youger brother of king rama the first. (Wang nhar)
Use as the supplemental library.

Add review